เมนู

เราผู้เดียวครองราชสมบัติ. บทว่า ส เว ราชสุขํ เสติ ความว่า ดูก่อน
มหาบพิตร บุคคลนั้นผู้เดียวไม่มีเพื่อน สงัดเงียบแล้ว เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วย
ความสุขทางกายและทางจิต ย่อมนอนเป็นสุข. ก็คำว่า นอนเป็นสุขนี้ เป็นหัว
ข้อเทศนาเท่านั้น ย่อมนอนเป็นสุขอย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ ก็บุคคลเห็นปาน
นี้ย่อยมเดิน ยืน นั่ง นอน เป็นสุข คือได้รับความสุขในทุกอิริยาบถที่เดียว
บทว่า กาเมสุ อนเปกฺขวา ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลเห็นปานนี้
เว้นจากความเพ่งเล็งในวัตถุกามและกิเลสกาม คือประกาศจากฉันทราคะไม่มีตัณหา
ย่อมอยู่เป็นสุขทุกอิริยาบถ.
พระราชาได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาแล้วมีพระทัยยินดี บังคมแล้ว
เสด็จไปยังพระราชนิเวศน์นั่นเอง ฝ่ายอันเตวาสิกก็ไหว้พระอาจารย์แล้วไป
ยังป่าหิมพานต์เหมือนกัน ฝ่ายพระโพธิสัตว์อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ มีฌานไม่
เสื่อม กระทำกาละแล้วบังเกิดในพรหมโลก.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัส 2 เรื่อง
สืบต่ออนุสนธิกันแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า อันเตวาสิกในครั้งนั้นได้เป็น
พระภัททิยเถระ ส่วนครูของคณะคือเราเองแล.
จบสุขวิหาริชาดกที่ 10
จบอปัณณกวรรคที่ 1

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อปัณณกชาดก 2. วัณณุปถชาดก 3. เสรีววาณิชชาดก 4.
จุลลกเศรษฐีชาดก 5. ตัณฑุลนาฬิชาดก 6. เทวธรรมชาดก 7. กัฏฐหาริ-
ชาดก 8. คามนิชาดก 9. มฆเทวชาดก 10. สุขวิหาริชาดก.

2. สีลวรรค



1. ลักขณชาดก



ว่าด้วยผู้มีศีล



[11] ความเจริญย่อมมีแก่ชนทั้งหลายผู้มีศีล
ประพฤติในปฏิสันถาร ท่านจงดูลูกเนื้อชื้อลักขณะ ผู้
อันหมู่แห่งญาติแวดล้อมกลับมาอยู่ อนึ่ง ท่านจงดู
ลูกเนื้อชื่อกาฬะนี้ ผู้เสื่อมจากพวกญาติกลับมาแต่ผู้
เดียว.

จบลักขณชาดกที่ 1

2. อรรถกถาสีลวรรค



1. อรรถกถาลักขณชาดก



พระศาสดาเมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยพระนครราชคฤห์ ประทับอยู่ในพระ
เวฬวันมหาวิหาร ทรงปรารภ พระเทวทัต จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า โหติ สีลวตํ อตฺโถ ดังนี้ เรื่องพระเทวทัตจนถึงการประกอบ
กรรมคือ การฆ่าอย่างหนัก จักมีแจ้งในกัณฑหาลชาดก เรื่องการปล่อยช้าง
ธนปาลกะ. จักมีแจ้งในจุลลหังสชาดก และการถูกแผ่นดินสูบ จักมีแจ้งใน
สมุททพาณิชชาดก ในทวาทสนิบาต.